ขนาด
ความสูงรวมหัววาล์ว
เส้นผ่าศูนย์กลาง
น้ำหนักถัง
ราคาถัง
ราคาก๊าซ
ประโยชน์ของ แอมโมเนีย ในภาคเกษตรกรรม
และภาคอุตสาหกรรม
จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจาก แอมโมเนีย
ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศมักจะเกิดจาก…
” โรงงานอุตสาหกรรมห้องเย็น โรงน้ำแข็ง โรงงานทำไอศครีม “
โดยสาเหตุหลักเกิดจากความบกพร่องของอุปกรณ์ เช่น
วาล์วรั่ว ท่อขนส่งแตก หรือประเก็นรั่ว เป็นต้น
ตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศ
เช่น ถังเก็บ แอมโมเนีย ระเบิดที่โรงงานน้ำแข็ง จ.ระนอง หรือเกิดการรั่วไหลจากท่อส่ง ก๊าซแอมโมเนีย ที่ห้องเย็น จ.ตรัง และ จ.ฉะเชิงเทรา
ส่วนในสหรัฐอเมริกาเองก็มีอุบัติเหตุจาก แอมโมเนีย เกิดขึ้นหลายครั้ง
จนองค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA)
ต้องจัดทำมาตรฐานข้อมูลอุบัติภัย จากการรั่วไหลของ แอมโมเนีย
สำหรับประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จาก แอมโมเนีย
อุตสาหกรรมหลายชนิด
ดังนั้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งการเตรียมพร้อมในการจัดการรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความรุนแรงและความเสี่ยงของอุบัติเหตุได้
ในบทความนี้จึงกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ ของ แอมโมเนีย
เช่น สมบัติทางกายภาพ กระบวนการผลิต
การใช้ประโยชน์ ความเสี่ยงและอันตราย รวมถึงแนวทางปฏิบัติ
เมื่อเกิดการรั่วไหล การเก็บรักษาและขนส่งอย่างปลอดภัย
แอมโมเนีย เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
และเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักร ไนโตรเจน (Nitrogen cycle)
ที่ อุณหภูมิและความดันปกติ
แอมโมเนีย จะมีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีกลิ่นฉุนรุนแรงซึ่ง ทำให้เกิดการะคายเคืองได้
แต่ถ้าอยู่ภายใต้ความดันและอุณหภูมิเย็น จะมีสถานะเป็นของเหลว
แอมโมเนีย มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 17.03 มีความถ่วงจำเพาะ
ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.7 (Merck, 1996)
จุดเดือด -33.4 องศาเซลเซียส มีความดันไอ 6,460 มิลลิเมตรปรอท
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
แอมโมเนีย จะเสถียรที่อุณหภูมิปกติ แต่จะสลายตัวให้ ไนโตรเจน
และ ไฮโดรเจน ที่อุณหภูมิสูง ลดความดันบรรยากาศปกติ การสลายตัว
เริ่มต้นที่อุณหภูมิ 450-500 องศาเซลเซียส การสลายาตัวของ แอมโมเนีย
เป็นแหล่งที่ให้ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน บริสุทธ์
แนวทางปฏิบัติในการขนส่ง แอมโมเนีย
“ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ”
(Health Hazard Data)
ให้กดสัญลักษณ์แจ้งเหตุอันตราย แล้วโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉิน
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้รีบช่วยเคลื่อนย้ายไปยังที่ปลอดภัยและมีอากาศบริสุทธิ์
ทำการปฐมพยาบาลแล้วจึงรีบนำส่งโรงพยาบาล
ถ้ามีประกายไฟหรือเปลวไฟจะต้องใช้ผงเคมีแห้ง
หรือคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อป้องกันการระเบิด
หรือลุกไหม้ขึ้นได้อีก
สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
เพื่อป้องกันการสัมผัสกับ แอมโมเนีย โดยตรง
ทั้งนี้จะต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำที่ละลาย แอมโมเนีย ไหลลงสู่
แม่น้ำลำคลอง หรือแหล่งชุมชนเพราจะทำให้เกิดมลภาวะ
ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
เพื่อหาแนวทางแก้ไข ไม่ให้เกิดเหตุในครั้งต่อไป ควรมีการตรวจ
สอบปริมาณ แอมโมเนีย ในอากาศ น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน
เพื่อประเมินปริมาณที่ตกค้างและดำเนินการกำจัด
หรือชะล้างให้หมดสิ้นไป
กรณีที่แอมโมเนียสัมผัสตา ให้รีบล้างออกด้วยน้ำปริมาณมากๆ โดยเปิดน้ำให้ไหลผ่านตา
อย่างน้อย 15 นาที แล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
กรณีที่แอมโมเนียสัมผัสผิวหนังล้างออกด้วยน้ำสบู่และน้ำ ถ้าเกิดแผลใหญ่เนื่องจาก ความเย็น
ห้ามถูหรือราดน้ำบริเวณนั้นให้รีบนำส่งแพทย์ทันที
กรณี หายใจเอาก๊าซแอมโมเนียเข้าไป ควรรีบเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุไปไว้ในที่อากาศถ่ายเท
ถ้าผู้ประสบเหตุหายใจอ่อนให้ใช้ออกซิเจน
ช่วยหายใจ นาน 2 นาที แต่ไม่เกิน 15 นาที
แต่หากหัวใจหยุดเต้นให้ปั๊มหัวใจทันที
กรณีกลืนกินแอมโมเนีย ให้บ้วนปากด้วยน้ำมากๆ และดื่มน้ำ 1 แก้ว
และทำให้อาเจียนโดยใช้ยาขับเสมหะ
หรือวิธีการล้วงคอ ยกเว้น ในรายที่หมดสติ
ให้รีบนำส่งแพทย์ทันที
ผู้ประสบเหตุควรอยู่ในห้องที่อบอุ่น หรือทำร่างกายให้อบอุ่นโดยอาจใช้ผ้าห่ม
คลุมช่วย จะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการปฐมพบยาบาลเบื้องต้น
รวมทั้งอุปกรณ์ป้งกันอันตรายส่วนบุคคลไว้ในบริเวณที่ แอมโมเนีย
รั่วไหลไปไม่ ถึง และจะต้องดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ
แนวทางปฏิบัติในการขนส่ง แอมโมเนีย
ในการปฏิบัติงานกับแอมโมเนียจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ ถุงมือ รองเท้าบูธ ชุดกันสารเคมี
แว่นนิรภัยหรือที่ครอบตาเพื่อป้องกันแอมโมเนียกระเด็นเข้าตา (Air purify)
สำหรับใช้กับก๊าซแอมโมเนียโดยเฉพาะ (แถบสีเขียว) แบบครึ่งหน้าสำหรับ
ความเข้มข้นไม่เกิน 500 ppm แบบเต็มหน้าสำหรับความเข้มข้นไม่เกิน
2,500 ppm หากเกินกว่านี้หรือกรณีฉุกเฉินให้ใช้ชุดช่วยหายใจชนิด SCBA
Automated page speed optimizations for fast site performance