อะเซทิลีน
Acetylene (C2H2)

ถังเหล็กอะเซทิลีน Acetylene (C2H2)

ขนาด

40 ลิตร

ความสูงรวมหัววาล์ว

100 ซม.

เส้นผ่าศูนย์กลาง

25.30 ซม.

น้ำหนักถัง

50-55 กก.

ราคาถัง

– บาท

ราคาก๊าซ

– บาท

ถังอะเซทิลีน Acetylene (C2H2) คุณสมบัติ

  • ถัง อะเซทิลีน Acetylene (C2H2) ขนาด 6คิว (40 ลิตร)
  • ถังเหล็ก
  • คุณภาพมารตรฐาน ISO9809-3
  • ความดัน 150 บาร์ (2,176 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
  • ผ่านการตรวจสอบตามมารตฐานอุตสาหกรรม
  • น้ำหนักท่อ 51-55 ก.ก
  • ความกว้าง: 25.30 ซม ความสูง: 100 ซม
  • วาล์ว CGA300 & วาล์วนิรภัย (FUSIBLE PLUG)

ชื่อทางเคมี (Chemical Name)

Acetylene/อะเซทิลีน สูตรทางเคมี
(Formula)

การใช้ประโยชน์ (Use)
ใช้เป็นแก๊สเชื้อเพลิงสําหรับงานเชื่อม ตัด

การใช้เปลวไฟในการทําความสะอาดสนิมเหล็ก การทําลาย
คอนกรีต และการผลิตอื่น ที่ต้องการเปลวไฟที่มีอุณหภูมิสูง

ใช้ผสมกับแก๊สเชื้อเพลิงอื่นเช่น อะเซทิลีน
ไฮโดรเจนซึ่งใช้สําหรับงาน เชื่อม…

“งานตัด งานชุบแข็ง งานพอก”

สีท่อ (Cylinder colour)

สีเลือดหมู Claret ( R55 )

สารประกอบที่เป็นอันตราย

Hazardous Ingredients

“อะซิโตน (Acetone)”

ข้อมูลทางกายภาพและเคมี (Physical and Chemical Data)

  • ลักษณะ สี และกลิ่น (Appearance Colour and Odor) ไม่มีสี กลิ่นคล้ายกระเทียม
  • จุดเดือด c (Boiling Point) ที่ 170 kPa -75 ° C
  • อุณหภูมิวิกฤติ c (Critical Temperature) –
  • ความดันไอ (Vapour pressure)ที่ 25 ° C 4700 kPa
  • การละลายได้ในน้ํา (Solubility in Water) – 0.94 cm/cm
  • ความดันวิกฤติ (Critical Pressure) (kPa)
  • ความเป็นกรดด่าง (PH-value) –

ข้อมูลด้านอัคคีภัยและการระเบิด

(Fire and Explosion Hazard Data)

จุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่ติดไฟ

  • ขีดจํากัดการติดไฟ (Flammable limits)-ค่าต่ำสุด LEL 2.5% ค่าสูงสุด UEL 80-85%
  • อุณหภูมิสามารถติดไฟได้เอง (Autoignition Temperature) 305°C
  • การเกิดปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical Reactivity)

การควบคุมทางด้านวิศวกรรม (Engineering control)

ใช้อุปกรณ์ปรับความดันในการต่อเข้ากับระบบเสมอ
ห้ามให้ ความดันสูงเกิน 100 kPa
(อะเซททิลีนสามารถจุดติดได้ด้วยตัวเองที่ความดัน > 200 kPa)

ห้ามสูบบุหรี่หรือเกิดประกายไฟ
ปิด วาล์วทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน ตรวจสอบการรั่วไหลสม่ำเสมอ
ใช้อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองที่เหมาะสมกับความดัน

ห้ามใช้ อะเซทิลีน สัมผัสโดยตรง
กับทองแดง เงิน และปรอท มีการระบายอากาศที่ดี

ข้อปฏิบัติที่สําคัญ

(Fire and Explosion Hazard Data)
การยกย้าย และการจัดเก็บ (Handling and Storing)

ปฏิบัติตามกฎหมายสารเคมีอันตรายถ้ามีการจัดเก็บในปริมาณ มาก ควรมีการขออนุญาต ไม่ให้ ท่อได้รับความเสียหายทางกายภาพ

จัดเก็บในที่ แห้ง เย็น และมีระบบระบายอากาศที่ดี

เก็บให้ ห่างจากบริเวณที่มีการจราจร และทางออกฉุกเฉิน ห้ามให้อุณหภูมิบริเวณที่เก็บท่อสูงเกิน 45°C

ควรขนส่งด้วยยานพาหนะที่เปิด โล่ง ระบายอากาศดี

และควรปฏิบัติเหมือนกัน ใช้ระบบ " First in - First out " เพื่อเป็นการป้องกันการเก็บ ท่อไว้ในระยะเวลาที่นานเกินไป

ติดป้ายเตือน ห้ามสูบบุหรี่ หรือห้ามทําให้เกิดประกายไฟ

ห้ามมีแหล่งกําเนิดความร้อน จุดติด หรือสารที่ทําให้เกิดการเผาไหม้ ในบริเวณที่มีการจัดเก็บ ท่อที่บรรจุ แก๊สอะเซททิลีน ไม่ควรเก็บใกล้กับ แก๊สออกซิเจน สารออกซิไดซ์ หรือสารพิษ ยกเว้นมีผนังที่ป้องกันการระเบิดกั้น

การรั่วและการหกไหล (Spill and Leak Procedures)

ระวังความสามารถในการเกิดเปลวไฟได้สูงของ แก๊สอะเซททิลีน ห้ามสูบบุหรี่ จุดเปลวไฟ หรือแหล่งจุดติดอื่น

หยุดการรั่วไหล ถ้ามีความปลอดภัยเพียงพอ

อพยพบุคคล ออกจากบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลที่เหมาะสม

ถ้าเกิดการรั่วไหลภายในวัสดุอุปกรณ์

ผู้ใช้งานควรมีการไล่แก๊ส Acetylene ที่มีอยู่ใน Pipe line ด้วยแก๊สเฉื่อยก่อนดําเนินการซ่อมแซม

วิธีการทดสอบการรั่วไหลของของระบบ

โดยการใช้น้ำสบู่ ตรวจสอบ หรือจากการทดสอบความดันที่ตก (Pressure Drop Testing ถ้าเกิดการรั่วไหลจาก ท่อหรือจากวาล์วของ ท่อควรติด ต่อ TIG เพื่อขอคําแนะนําเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และถ้ามีความปลอดภัยเพียงพอที่จะนําท่อไปยังที่ ที่มีระบบระบายอากาศที่ดี ห้ามซ่อมแซมวาล์วที่รั่วเองโดยเด็ดขาด

วิธีการกําจัด ( Disposal Methods ) ส่งคืน TIG เพื่อการกําจัด

เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินควรปล่อยให้ไหลออกช้า ๆ ใน บริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี และนําแหล่งจุดติดทุกชนิดให้ห่าง

ข้อมูลด้านอัคคีภัยและการระเบิด

(Fire and Explosion Hazard Data)

อันตรายจากไฟและการระเบิด

(Fire and Explosion Hazard)

แก๊สอะเซทิลีน บริสุทธิ์ สามารถจุดติดได้ที่ความดันมาก กว่า 200 kPa

โดยการผสมกับอากาศ
การลุกไหม้ของแก๊สจะเกิดการย้อนกลับมาที่แหล่งกําเนิด (Flash Black)

เกิดการลุกไหม้ที่ บริเวณ Fusible metal pressure relief plugs
ที่อยู่บริเวณด้านบน และท้ายของท่อ

เมื่อโลหะที่ร้อน หรือ Slag ตกลงบน fusible plugs จะมีการปล่อย แก๊สอะเซทิลีน
ออกมาในปริมาณที่มากและรวดเร็ว จึงทําให้เกิดเปลวไฟ

วิธีการผจญเพลิง (Fire Fighting Procedures) แจ้งเหตุเพลิงไหม้ไปยังทีม
ผจญเพลิง โดยระบุสถานที่เกิดเหตุ

สารเคมีที่มี และปริมาณที่จัดเก็บ อพยพคนออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ
ถ้ามีแก๊สที่รั่วไหลออกมา ปล่อยให้เกิดการลุกไหม้ได้แต่ต้องอยู่ ภายใต้การดูแล
ตัดแหล่งกําเนิดถ้ามีความปลอดภัยเพียงพอ สําหรับ ท่อที่อยู่ในบริเวณที่ต้องการป้องกัน

ห้ามสัมผัสท่อในขณะที่ร้อน นําท่อที่ยังไม่ร้อนออกจากไฟ ถ้าไม่สามารถที่จะทําให้ท่อเย็นลง ต้องอพยพคนออกทันที จะเกิดอันตรายจากการที่ถังระเบิด

สารที่ใช้ในการดับเพลิง (Extinguishing media) คาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงเคมีแห้ง

การปฐมพยาบาล

เมื่อถูกผิวหนัง การไหม้เนื่องจากความร้อน เปิดน้ำให้ไหลผ่านนาน 10 – 15 นาทีทำความสะอาดและตกแต่งบาดแผล

และไปพบแพทย์ทันที

เมื่อหายใจเข้าไป นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีการปนเปื้อนและไปที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าหมดสติควรใช้เครื่องช่วยหายใจ

บริษัท อ๊อกซิเทค จำกัด ดีลเลอร์ จำหน่ายก๊าซ

ของบริษัท ลินเด้ ประเทศไทย จำกัด

ก๊าซออกซิเจน ทางการแพทย์ , ก๊าซออกซิเจน อุตสาหกรรม , ก๊าซอะเซทิลีน ,
ก๊าซอาร์กอน , ก๊าซไนโตรเจน , ก๊าซฮีเลียม ฯลฯ

มีบริการจัดส่งทั่วภาคใต้