แอมโมเนีย
(AMMONIA : NH3)

ความรู้ทั่วไป..แอมโมเนีย

แอมโมเนีย เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามวัฎจักรไนโตรเจน มนุษย์รู้จัก แอมโมเนีย มาตั้งแต่สมัย อียิปต์โบราณในชื่อ “SAL AMMONIAC” และสามารถเตรียมขึ้นได้จากกระบวนการทางเคมี  ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1774 โดย J.B. Preistley

และมีการใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการผลิตปุ๋ย สังเคราะห์ แอมโมเนีย เชิงพาณิชย์ ใช้ แอมโมเนีย ไนเตรตทำวัตถุระเบิด ในปี ค.ศ. 1931 


คุณสมบัติทั่วไปของแอมโมเนีย

มีทั้งสถานะก๊าซ และของเหลว เบากว่าอากาศที่สถานะก๊าซ

  • ไม่มีสีมีกลิ่นฉุนรุนแรง
  • เป็นสารอันตรายเมื่อสัมผัสถูก หรือสูดดมโดยตรง แต่ไม่เป็นสารพิษสะสม
  • เป็นตัวทำละลายที่ดี
  • มีสภาพเป็นด่าง
  • ติดไฟได้ที่ความเข้มข้น 16-25% โดยปริมาตรและสามารถลุกติดไฟได้เองที่อุณหภูมิ 650oC


การใช้ประโยชน์จากแอมโมเนียในงานอุตสาหกรรม

แอมโมเนีย ถูกใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยร้อยละ 85 ของปริมาณการใช้ทั้งหมด อีกร้อยละ 15 

ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆเช่

ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยในโรงงานอุสาหกรรม

แอมโมเนีย ถูกใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยร้อยละ 85 ของปริมาณการใช้ทั้งหมด อีกร้อยละ 15 ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ย

  • ปุ๋ย แอมโมเนียมไนเตรต
  • ปุ๋ย แอมโมเนียม ฟอสเฟต
  • ปุ๋ยยูเรีย

ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดไนตริก ซึ่งนำไปใช้ ใช้ทำความสะอาดผิวโลหะ

  • อุตสาหกรรมไนโตรเซลลูโลส
  • อุตสาหกรรมสแตนเลส
  • ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคาโปแลคตัม
  • ใช้ในการผลิตไนลอน6

    ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระบวนการผลิตผงชูรส

  • กระบวนการผลิตหัวอาหารสัตว์

  • ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำยางเข้มข้นยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในน้ำยาง

    เสริมความเป็นด่างให้น้ำยางคุณภาพ

  • ใช้ในอุตสาหกรรมชุบแข็งพื้นผิวโลหะ เผา แอมโมเนีย ที่อุณหภูมิสูงจนแตกตัวเป็น N2

    และ H2 ตะกอนของไนโตรเจนจะทำให้ผิวโลหะแข็งและเงางาม

  • ใช้ในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ อุตสาหกรรมผลิตหลอดภาพโทรทัศน์ อุตสาหกรรมผลิตแผ่น PCB

  • ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อม เพิ่มความเงามัน, เหนียว และความสามารถในการดูดติดสี ใช้ในการกัดออกไซด์ของไนโตรเจน ไนโตรเจน(ได)ออกไซด์เป็นมลภาวะจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภท ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

ผลของจากการสัมผัสแอมโมเนียที่มีผลต่อมนุษย์ที่ ความเขมข้นของแอมโมเนียในระดับต่างๆ

เมื่อเกิดการรั่วของแอมโมเนีย...

สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้​

  1. พยายามหยุดรอยรั่ว ถ้าทำได้โดยไม่เกิดอันตราย
  2. แจ้งหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
  3. ระบายอากาศบริเวณนั้น
  4. ฉีดน้ำเป็นฝอยเพื่อลดการแพร่กระจาย
  5. ถ้ารั่วปริมาณมากให้อพยพคนออกนอกพื้นที่
  6. ห้ามบุคคลที่ไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจเข้าในบริเวณ จนกว่าจะทำความสะอาดเรียบร้อย

สรุป

แอมโมเนีย (Ammonia)  แอมโมเนีย เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสารเคมีชนิดหนึ่งสามารถนำไปผลิตหรือใช้งานได้หลายประเภท เช่น ผลิตปุ๋ย, สารทำความสะอาด, สารตั้งต้นในการผลิตที่ต้องใช้ธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ, อุตสาหกรรมน้ำยางข้น, อุตสาหกรรมโลหะ และสารทำความเย็น

อันตรายของ แอมโมเนีย แอมโมเนียเป็นก๊าซที่อันตรายผู้ใช้ต้องมีความรู้เรื่องก๊าซเป็นอย่างดี ทั้งการใช้งาน การขนส่ง การจัดเก็บ ปัจจุบันก็มีหลายๆพื้นที่ ที่เกิดการระเบิดจากแอมโมเนียซึ่งก๊าซ แอมโมเนีย ให้ประโชนย์แก่มนุษย์มากมาย ก็จริงแต่มันก็ทำลายมนุษย์ได้หากไม่ระมัดระวังในการใช้งาน

เบอร์โทรฉุกเฉิน "แจ้งเหตุต่างๆ"

แจ้งเหตุอัคคีภัย ” 199 “

เหตุด่วนเหตุร้าย ” 191 “

สายด่วนผู้ป่วยฉุกเฉิน ” 1669 “

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ” 192 “

หน่วยแพทย์กู้ชีพ ” 1554 “

แจ้งเหตุอัคคีภัย ” 199 “

เหตุด่วนเหตุร้าย ” 191 “

สายด่วนผู้ป่วยฉุกเฉิน ” 1669 “

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ” 192 “

หน่วยแพทย์กู้ชีพ ” 1554 “